07/10/2024 0 Comment(s) เรียนออนไลน์,

VLAN คืออะไร?

 

        VLAN ย่อมาจากคำว่า Virtual รวมกับคำว่า Local Area Network (Virtual LAN) คือเครือข่ายเสมือนเพื่อสร้างเส้นทางการเชื่อมต่อสือสารบนเครือข่ายหลัก ถ้าเครือข่ายหลักมีการใช้งานมากบน LAN ก็จะทำให้ Traffic ของ Broadcast มีมากขึ้นตามไปด้วยซึ่งส่งผลโดยตรงกับเครือข่ายทำให้ช้าลง จึงทำให้เกิดการพัฒนาและนำ VLAN มาแก้ปัญหานี้ที่เกิดขึ้นในเครือข่ายโดย VLAN จะแยกเครือข่ายออกจากกันเพื่อเป็นการลด Taffic ของ Broadcast ที่เกิดขึ้น

 

ประโยชน์ของ VLAN

 

  • ลด Traffic ของ Broadcast ที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายกรณีที่เครือข่ายมีขนาดใหญ่
  • ลดค่าใช้จ่ายในการออกแบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่
  • สามารถบริหารจัดการผู้ใช้งานในเครือข่ายได้ง่ายและสะดวก
  • มีความยืดหยุ่นสะดวกต่อการแก้ไขระบบและตั้งค่าในภายหลังได้

การตั้ง VLAN บน RouterOS

 

ตัวอย่าง การตั้งค่า RouterOS ในโหมดการทำ VLAN Tagged และ Untagged 

 

1.  ทำการตั้งค่า Router A เป็นโหมด Trunk VLAN

  • เมนู IP -> Address List 
  • กดปุ่ม Add กำหนด IP Address : ตัวอย่างคือ 192.168.1.1/30 Interface : ether1

 

 

2. ทำการตั้งค่า Router B

  • เมนู IP -> Address List
  • กดปุ่ม Add กำหนด IP Address : ตัวอย่างคือ 192.168.1.2/30 Interface : ether1

 

 

3. เมนู Interface ทำการตั้งค่าดังภาพตัวอย่าง

  • Interface ether1 : VLANID 100
  • Interface ether1 : VLANID 200
  • Interface ehter1 : VLANID 300

 

 

4. ทำการตั้งค่า IP Address ที่ตัว " Router A "

  • 192.168.10.1/24 Interface : vlan100
  • 192.168.20.1/24 Interface : vlan200
  • 192.168.30.1/24 Interface : vlan300

 

 

ตัวอย่าง การตั้งค่าที่ตัว " Router B " เพื่อทำการ Tagged และ Untagged VLAN ที่ Trunk มาจาก " Router A "

  • เมนู Bridge ทำการตั้งค่าดังภาพตัวอย่าง
  • กดปุ่ม Add แล้วทำการสร้าง Bridge1 ขึ้นมา

 

 

6. เมนู Bridge -> Ports

  • กดปุ่ม Add ขึ้นมาแล้วทำการตั้งค่าดังภาพตัวอย่าง
  • Interface : ether1    Bridge : bridge1
  • Interface : ether2    Bridge : bridge1    PVID : 100
  • Interface : ether3    Bridge : bridge1    PVID : 200
  • Interface : etber4    Bridge : bridge1    PVID : 300 

 

 

7. เมนู Bridge -> VLANs

  • กดปุ่ม Add ขึ้นมาแล้วทำการตั้งค่าดังภาพตัวอย่าง
  • Bridge : bridge1    VLAN IDs : 100    Tagged : ether1    Untagged : ether2
  • Bridge : bridge1    VLAN IDs : 200    Tagged : ether1    Untagged : ether3
  • Bridge : bridge1    VLAN IDs : 300    Tagged : ether1    Untagged : ether4

 

 

8. เมนู Bridge แล้วทำการตั้งค่าดังภาพตัวอย่าง

  • bridge1 : " VLAN " ทำการเปิดการใช้งาน VLAN Filttering 

 

 

10. ที่ตัว " Router B

  • Interface : ether2 (จะได้รับ IP Address : 192.168.10.254)

 

 

11. ที่ตัว " Router B "

  • Interface : ether3 (จะได้รับ IP Address : 192.168.20.254)

 

 

12. ที่ตัว " Router B "

  • Interface : ether4 (จะได้รับ IP Address : 192.168.30.254)

 

 

นึกถึงทีมงานมืออาชีพนึกถึง VRProService